แนวคิดในการบริหารจัดการสายเรียกเข้าศูนย์บริการคอลเซ็นเตอร์ article

แนวคิดในการบริหารจัดการสายเรียกเข้าศูนย์บริการคอลเซ็นเตอร์ (Call Center Deployment Model)

ผู้อ่านหลายท่าน คงจะเคยมีประสบการณ์ในการติดต่อไปยังศูนย์ Call Center  “โทรติด แต่ไม่มีคนรับสาย”  ผมขอเน้นคำว่า “โทรติด แต่ไม่มีคนรับสาย”  ในที่นี้ โทรติดหมายถึงโทรแล้วผู้ติดต่อได้ยินเสียงปลายทางดังยาวๆ ห่างๆ หมายถึงยังว่างอยู่ (ถ้าเป็นโทรไม่ติดจะได้ยินสัญญาณสั้นๆ ถี่ๆ นั่นหมายความว่าสายไม่ว่าง สายไม่ว่างเกิดจากสายโทรเข้าเต็ม เช่น มีสายรองรับการโทรเข้าได้ 30 คู่สายพร้อมๆ กัน ถ้ามีคนโทรเข้ามาแล้ว 30 สาย สายที่ 31 โทรเข้ามาก็จะโทรไม่ติด) ส่วนการที่ไม่มีคนรับสายอาจจะมีหลายสาเหตุ คือ 

หนึ่ง เจ้าหน้าที่ทุกคนให้บริการสายอื่นอยู่  ทำให้ระบบไม่โอนสายให้  ผู้โทรจึงได้ยินเสียงปลายทางว่างไม่ยอมรับสาย  กรณีนี้ ควรจะให้มีระบบตอบรับอัตโนมัติแจ้งว่า จะรอสายอีกนานแค่ไหน เพื่อว่าจะให้ผู้โทรประมาณได้ว่าควรจะรอหรือไม่รอ  ในความเห็นของผู้เขียน น่าจะมีการโอนสายไปให้กับหน่วยงานอื่น ที่สามารถให้บริการ และแก้ปัญหาเบื้องต้นให้กับผู้ติดต่อได้ ซึ่งวิธีนี้ทำให้ไม่จำเป็นต้องจัดจ้างเจ้าหน้าที่เพิ่มจำนวนมาก

สอง อาจจะมีปัญหาระบบการจัดการคิว อาจจะมีปัญหาจากการทำงานผิดพลาดของตัวโปรแกรมเองที่เรียกว่าคิวค้างคือถ้าเจ้าหน้าที่ว่างก็ไม่ยอมโอน หรืออีกกรณีเป็นความผิดพลาดของตัวโปรแกรมที่เรียกว่าคิวผีคือคนโทรวางสายไปแล้วแต่ระบบไม่ทราบ ก็จะต่อคิวไปเรื่อยจนคิวมีมากเกินไป ทำให้สายใหม่โทรเจ้ามาก็ต่อคิวสุดท้ายเสมอ ทำให้โอนสายไม่ถึงเจ้าหน้าที่ซักที หรือสุดท้ายมีการจัดการคิวแบบไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมด้วยผู้ดูแลระบบเอง คือจัดคิวไม่ถูกต้องและไม่ได้ทำการทดสอบทุกๆ กรณีที่อาจจะเกิดปัญหา

ดังนั้น การจะจัดตั้งศูนย์ Call Center สิ่งสำคัญสิ่งแรก คือจะต้องคำนึงถึงแนวคิดการบริหารจัดการสายเรียกเข้าศูนย์บริการคอลเซ็นเตอร์ก่อน ในปัจจุบัน การให้บริการในเลขหมายฉุกเฉิน (Call Center Deployment Model) มีรูปแบบหลายรูปแบบซึ่งแต่ละรูปแบบก็จะข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป ขึ้นกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายการให้บริการของศูนย์บริการคอลล์เซ็นเตอร์ของแต่ละองค์กร ยกตัวอย่างในประเทศไทย เช่น 191, 1669 (ศูนย์การแพทย์ฉุกเฉิน) จะใช้รูปแบบกระจายศูนย์ (Decentralized (Multisite) Contact Center) เพราะระบบที่โทรเข้าจะโอนสายไปยังเจ้าหน้าที่รับแจ้งที่ประจำอยู่ในจังหวัดนั้นๆ โดยอัตโนมัติ (ถึงแม้จะยังไม่มีระบบคอลเซ็นเตอร์รองรับทั่วถึง) หรืออีกตัวอย่าง ศูนย์สายด่วน 1784 (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณาภัย) จะใช้รูปแบบเป็นรวมศูนย์ที่เดียว (Centralized หรือ Single Site Contact Center) เป็นต้น 

รายละเอียดแนวคิดในการติดตั้งระบบศูนย์บริการคอลเซ็นเตอร์ โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบ ดังต่อไปนี้

1) ศูนย์บริการคอลเซ็นเตอร์ แบบรวมศูนย์ที่เดียว (Centralized (Single Site) Contact Center)
 
Centralized (Single Site) Contact Center

เป็นศูนย์บริการคอลเซ็นเตอร์ ที่รวมเจ้าหน้าที่ อุปกรณ์ และบริการทั้งหมดไว้ในที่ที่เดียวหรือสถานที่เดียว ข้อดีของรูปแบบนี้ คือ ต้นทุนในการบริหารจัดการต่ำ และ ง่ายต่อการบริการบุคลากรในศูนย์คอลเซ็นเตอร์ ส่วนข้อด้อยของรูปแบบนี้ คือ ถ้าเป็นการให้บริการที่จะต้องใช้ความชำนาญของคนในพื้นที่ เช่น ตำแหน่งของจุดเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ส่วนกลางจะให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพไม่เท่ากับคนท้องถิ่น เป็นต้น

2) ศูนย์บริการคอลเซ็นเตอร์ แบบกระจายศูนย์แต่ระบบเดียว (Decentralized (Multisite) Contact Center with Centralized System)

 Decentralized (Multisite) Contact Center with Multi System

แนวคิดนี้จะเป็นศูนย์บริการคอลเซ็นเตอร์ ที่แยกเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ ออกจากกันอย่างน้อย 2 ศูนย์หรือมากกว่า หรือจะแยกตามจำนวนภูมิภาคหรือทุกจังหวัดตามที่ให้บริการก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับธุรกิจของผู้ให้บริการว่าต้องการอย่างไร โดยที่มีหนึ่งศูนย์เป็นศูนย์หลักในการที่จะติดตั้งระบบงานเดียวเป็นศูนย์ข้อมูล (Data Center) ในการแบ่งปันข้อมูลให้กับศูนย์อื่นผ่านเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันตลอดเวลา ข้อดีของรูปแบบนี้ คือ ถ้าเป็นการให้บริการที่จะต้องใช้ความชำนาญของคนในพื้นที่ เช่น ตำแหน่งของจุดเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาคจะสามารถให้ประสิทธิภาพได้ดีกว่าส่วนกลาง เป็นต้น ส่วนข้อด้อยของรูปแบบนี้ คือ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทางด้านเครือข่ายที่ต้องเชื่อมต่อข้อมูลร่วมกันตลอดเวลา รวมถึงค่าบริหารจัดการบุคลากรต่างสาขาก็จะสูงขึ้นบ้าง และข้อเสียที่สำคัญ คือถ้าระบบเครือข่ายหรือโปรแกรมระบบส่วนกลางมีปัญหา ก็จะทำให้ศูนย์กระจายที่เหลือไม่สามารถใช้งานโปรแกรมจากส่วนกลางได้เลย 

3) ศูนย์บริการคอลเซ็นเตอร์ แบบกระจายศูนย์กับกระจายระบบ (Decentralized (Multisite) Contact Center with Multi System)

 Decentralized (Multisite) Contact Center with Centralized System
แนวคิดนี้เป็นการเพิ่มขีดความสามารถต่อจากศูนย์บริการคอลเซ็นเตอร์ แบบกระจายศูนย์แต่ระบบเดียว (Decentralized (Multisite) Contact Center with Centralized System) ในหัวข้อก่อนหน้า คือนอกจากจะแยกเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ออกจากกันแล้ว แนวคิดรูปแบบนี้ยังให้แยกระบบที่จะใช้งานออกจากกันด้วย แต่ถึงแม้ระบบการใช้งานจะแยกกันแต่ก็สามารถทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวกันได้เหมือนเป็นหนึ่งระบบ  ข้อดีของรูปแบบนี้ คือ ถ้าเป็นการให้บริการที่จะต้องใช้ความชำนาญของคนในพื้นที่ เช่น ตำแหน่งของจุดเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาคจะสามารถให้ประสิทธิภาพได้ดีกว่าส่วนกลาง เหมือนรูปแบบข้างต้น และมีข้อดีที่สำคัญไม่ต้องเพิ่งพาระบบเครือข่ายหรือโปรแกรมระบบส่วนกลาง ถ้าระบบส่วนกลางมีปัญหา ศูนย์ต่างๆ เหล่านี้ก็ยังทำงานได้เป็นปกติ และเมื่อศูนย์ส่วนกลางกลับมาทำงานได้ตามปกติ ระบบก็จะเชื่อมต่อข้อมูลกันได้เหมือนเดิม ส่วนข้อด้อยของรูปแบบนี้ คือ มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดเพราะต้องติดตั้งระบบเหมือนกันทุกศูนย์ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ และยังคงต้องมีค่าเชื่อมเครือข่ายข้อมูลร่วมกันตลอดเวลา รวมถึงค่าบริหารจัดการบุคลากรต่างสาขาก็จะสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

4) ศูนย์บริการคอลเซ็นเตอร์ แบบเสมือนรวมศูนย์ (Virtual Contact Center)

 Virtual Contact Center

แนวคิดรูปแบบนี้ เป็นผลมาจากเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาที่เรียกว่า Internet และ VoIP ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างศูนย์หลักและศูนย์กระจาย รวมถึงระหว่างศูนย์บริการกับเจ้าหน้าที่บริการ เป็นไปอย่างง่ายดายและมีค่าใช้จ่ายต่ำลงอย่างมาก โดยแนวคิดนี้ เป็นแนวคิดที่เน้นว่า เจ้าหน้าที่ให้บริการไม่จำเป็นที่จะต้องมานั่งให้บริการที่ศูนย์คอลล์เซ็นเตอร์ ให้ทำงานที่นอกศูนย์ฯ หรือทำงานที่บ้านเลยก็ได้ ขอให้มีเครือข่ายที่สามารถเข้าใช้งานโปรแกรมระบบที่ศูนย์กลางได้ แต่การปฏิบัติงานต่างๆ จะเหมือนกับอยู่ภายในศูนย์ฯ ทุกประการภายใต้หลักการและวัตถุประสงค์ของศูนย์ฯ นั้นๆ และตามตารางเวลาการทำงานที่กำหนด

ศูนย์บริการคอลเซ็นเตอร์ ที่จะใกล้เคียงกับ ศูนย์บริการคอลล์เซ็นเตอร์ แบบกระจายศูนย์แต่ระบบเดียว (Decentralized (Multisite) Contact Center with Centralized System) แต่จะมีเทคโนโลยี Remote Agent เพื่อรองรับการทำงานของเจ้าหน้าที่บริการจากภายนอกศูนย์ ข้อดีของรูปแบบนี้ คือ ลดค่าใช้จ่ายสถานที่สำหรับเจ้าหน้าที่บริการ และถ้าเป็นการให้บริการที่จะต้องใช้ความชำนาญของคนในพื้นที่ เช่น ตำแหน่งของจุดเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาคจะสามารถให้ประสิทธิภาพได้ดีกว่าส่วนกลาง เป็นต้น ข้อด้อยของรูปแบบนี้ คือ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทางด้านเครือข่ายที่ต้องเชื่อมต่อข้อมูลร่วมกันตลอดเวลาและค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบ Remote Agent ในการรองรับการทำงานของเจ้าหน้าที่จากภายนอก รวมถึงค่าบริหารจัดการบุคลากรที่ทำงานภายนอกก็จะสูงขึ้นบ้าง และข้อเสียที่สำคัญเช่นกัน คือถ้าระบบเครือข่ายหรือโปรแกรมระบบของศูนย์ที่เจ้าหน้าที่ภายนอกต้องเข้าใช้งานมีปัญหา ก็จะไม่สามารถทำงานได้เลย


บทความโดย :  คุณสุรศักดิ์ ภักดีวัฒนะกุล (ผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบ Call Center และ CRM)

27 มกราคม 2558

บริษัท นวต ซอฟท์เทค จำกัด (www.nawata.co.th)
www.fb.me/nawatasofttech

โทร : 02-730-3400


 



Call Center Master Article

บริหารจัดการการลาออกของพนักงาน Call Center อย่างไรให้ราบรื่น article
8 วิธีที่จะเปลี่ยนลูกค้าร้องเรียนให้พึงพอใจ article
เทคนิค 7 ข้อในการตรวจสอบคุณภาพการบริการทางโทรศัพท์ article
เทคนิค 5 ข้อ ที่นักขายทางโทรศัพท์ (Telesales) ควรรู้ article
10 ดัชนีสำคัญที่ใช้ในการวัดประสิทธิภาพของ Call Center article
เทคนิค 5 ข้อในการเพิ่มประสิทธิภาพการรับสาย ( 5 Tips to improve phone service level) article
4 แนวโน้มใหญ่ ของ CRM ปี 2017 article
ใช้บทสนทนามาตรฐาน (Script) อย่างไรให้เหมาะสม article
การสร้างความประทับใจจากข้อร้องเรียนของลูกค้า article
พัฒนาหน่วยงานบริการลูกค้าของคุณให้เป็น Omni-Channel Contact Center article
เตรียมความพร้อมให้บริการลูกค้าผ่านระบบ Live Chat article
การบูรณาการระบบ CRM article
5 ขั้นตอนสำหรับนักขายเมื่อโทรหาลูกค้า article
5 แนวคิดในการกระตุ้นการทำงานของทีมงาน Contact Center article
ออกแบบแบบฟอร์มตรวจสอบคุณภาพการบริการของ Contact Center อย่างไร article
GIS ระบบบอกตำแหน่งผู้โทรว่าอยู่ที่ใดบนโลกใบนี้ article
ระบบ Real-Time Monitoring ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารหน่วยงาน Contact Center article
หัวหน้าทีม Contact Center จะบริหารการรับข้อร้องเรียนของลูกค้าอย่างไร article
เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Technology) สามารถเพิ่มผลการตอบสนองกลับและการมีส่วนร่วมของลูกค้าได้ article
10 วิธีที่เทคโนโลยีสามารถเพิ่มศักยภาพการทำงานของ Contact Center Agent article
5 วิธี สำหรับจัดการทีมงานที่ทำงานไม่ได้ตามเป้าหมาย article
10 ข้อ ที่เจ้าหน้าที่ขายทางโทรศัพท์ (Telesales) ไม่ควร ทำ article
VDO Contact Center เทคโนโลยีที่จะมากับ 4G article
เทคนิคการทำ Call Calibration ที่มีประสิทธิภาพ article
แนวโน้มเทคโนโลยี Contact Center ในปี 2559 article
7 คำถามที่ Contact Center Manager ควรมีคำตอบ article
10 ไอเดียของขวัญสำหรับ Contact Center Agent ของคุณ article
FXO กับ FXS ในระบบ IPPBX คืออะไร article
5 วิธีในการเพิ่มคุณภาพการบริการของ Contact Center article
บทวิเคราะห์ : ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี Contact Center เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิตัล article
Contact Center ของคุณรองรับ Omni Channel หรือยัง? article
เทคนิคการเขียนอีเมลอย่างมีคุณภาพ article
ฝึกฝนเจ้าหน้าที่ขายสินค้าทางโทรศัพท์ให้เป็นมืออาชีพ article
5 วิธี เพื่อสร้างการบริการเกินความคาดหวัง article
5 แนวโน้ม CRM ที่ต้องรู้ก่อนใช้ article
เพิ่มประสิทธิภาพการบริการลูกค้า โดย Multi-Channel Contact Center article
เทคนิค 5 ข้อสำหรับห้วหน้างานในการเจรจากับเจ้าหน้าที่ Call Center ที่มีปัญหา article
IoT (Internet of Things) จะเปลี่ยนแปลงการบริการใน Call Center
เทคนิค 7 ข้อในการพัฒนาทักษะการพูดของผู้ให้บริการ article
5 วิธี เพื่อเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าในการติดต่อ Call Center article
Mystery Shopper มีประโยชน์อย่างไร article
CTI หัวใจของการบริการลูกค้า article
Call monitoring ช่วยพัฒนาทีมขาย (Telesales Team) ของคุณได้อย่างไร article
เพิ่มศักยภาพให้หน่วยงาน Contact Center ของคุณ article
จะบริหารทีมงาน Outsource Call Center อย่างไร (ตอนที่ 2) article
SIP Trunk จะเปลี่ยนแปลงธุรกิจ Call Center ในเมืองไทย article
จะบริหารทีมงาน Outsource Call Center อย่างไร (ตอนที่ 1) article
5 วิธีในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของ Contact Center article
8 ขั้นตอนเพื่อลดการลาออกของเจ้าหน้าที่ Call Center article
15 สถิติที่ควรเปลี่ยนโลก CRM article
8 เคล็ดลับ (Tips) สำหรับการให้บริการลูกค้าทางอีเมล article
การทำ Call Monitoring ช่วยพัฒนางานบริการของคุณได้อย่างไร article
จะทราบได้อย่างไรว่าทีมงานของคุณมีขวัญและกำลังใจในการทำงานดี article
การบริหารจัดการจดหมายอิเลคทรอนิค หรือ Email ในงานบริการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ตอนที่ 2 article
10 ข้อที่ผู้ให้บริการลูกค้าทางโทรศัพท์ ไม่ควรทำ article
การบริหารจัดการจดหมายอิเลคทรอนิค (Email) ในงานบริการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ตอนที่ 1 article
เคล็ด (ไม่) ลับสำหรับผู้เข้าอบรมด้านการบริการ article
Home Agent อีกทางเลือกหนึ่งของการบริการ Call Center article
ลักษณะที่ดีของนักขายสินค้าทางโทรศัพท์ article
เคล็ดลับ 5 ข้อในการเป็นสุดยอดหัวหน้าทีมบริการลูกค้า article
เทคนิคในการพัฒนาคุณภาพการบริการของเจ้าหน้าที่ Call Center article
ทักษะที่สำคัญสำหรับเจ้าหน้าที่ Call Center article
การคิดเชิงบวกมีผลดีต่อผู้ให้บริการอย่างไร article
5 เคล็ดลับในการสร้างกำลังใจในการทำงาน article
กลยุทธ์ในการบริหารทีมงาน Call Center article
การนำ Social Media มาเป็นหนึ่งในช่องทางการบริการลูกค้าใน Contact Center article
ดัชนีที่ใช้วัดประสิทธิภาพของการโทรออก (Telemarketing and Telesales Performance Indicators) article
การขายสินค้าทางโทรศัพท์อย่างมืออาชีพ article
การอบรมเจ้าหน้าที่ Call Center มือใหม่ ควรจะเริ่มต้นอย่างไร article
เทคนิคในการเลือกใช้คำพูดเมื่อต้องให้บริการลูกค้าเจ้าปัญหา article
Asterisk : All in One Call Center Solution ของฟรีมีในโลก article
พนักงาน Call Center ที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างไร article
อยากมี Call Center ต้องเตรียมตัวอย่างไร article
7 กลยุทธ์ในการเพิ่มความพึงพอใจ และดึงดูดลูกค้าผ่านทาง Internet article
คำถามยอดฮิตในการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ Call Center article
Call Monitoring จำเป็นสำหรับ Call Center ของคุณอย่างไร article
Customer Satisfaction Survey ทำกันอย่างไร article
10 วิธีจัดการลูกค้าร้องเรียนให้ได้ผล article
Outsource Call Center เหมาะกับธุรกิจของคุณ หรือไม่