5 วิธีแสดงความเข้าใจและเอาใจใส่ลูกค้า article

5 วิธีแสดงความเข้าใจและเอาใจใส่ลูกค้า
(5 Ways to Show Empathy in Customer Service)

คำว่า “Empathy” หมายถึง การเอาใจใส่ และความร่วมรู้สึก ซึ่งนัยของความหมายนี้ถูกนำไปใช้ในบริบทของการบริการลูกค้าเพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกค้าและองค์กร ทำให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน และลดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้น  Empathy จึงเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผู้ให้บริการที่มีความสามารถในการเข้าใจและแบ่งปันความรู้สึกของลูกค้า เสมือนเป็นการนำตัวเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ของลูกค้าและมองเห็นปัญหาจากมุมมองของพวกเขา ซึ่งการแสดงความเข้าใจและเอาใจใส่ลูกค้านั้น สามารถทำได้หลายวิธี 
 
• รับฟังลูกค้า
ตั้งใจฟังสิ่งที่ลูกค้าเล่าหรืออธิบายปัญหาให้จบ บางครั้งลูกค้าต้องการระบายความเดือนร้อนหรือความไม่พอใจ อย่าด่วนสรุปและรีบตัดบทลูกค้า เพราะหากเราทราบความกังวลของลูกค้า ก็จะสามารถแก้ปัญหาที่ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าได้
 
• ทวนและยืนยันความต้องการของลูกค้า
เมื่อฟังลูกค้าเล่าปัญหาจบแล้ว เจ้าหน้าที่ควรทวนข้อมูลเพื่อตรวจสอบความเข้าใจให้ตรงกับลูกค้า โดยการเรียบเรียงคำพูดของเจ้าหน้าที่เองจากความเข้าใจที่ได้รับฟัง ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ลูกค้าสบายใจที่เจ้าหน้าที่เข้าใจปัญหาและความต้องการได้ถูกต้อง
 
• ให้เกียรติลูกค้า
การให้เกียรติลูกค้า ทำได้โดยมีการกล่าวชื่อลูกค้าเป็นระยะๆ ระหว่างการสนทนา การใช้คำพูดที่สุภาพ การใช้ภาษากายต่างๆ เช่น การสบตาระหว่างการสนทนา การยืนที่มีระยะห่างเหมาะสม เป็นต้น  นอกจากนั้น การควบคุมอารมณ์ตลอดการให้บริการลูกค้าที่แสดงอารมณ์โกธร ก็เป็นการให้เกียรติลูกค้าเช่นกัน
 
• ใช้คำพูดเชิงบวก
การใช้คำพูดที่แสดงถึงความเข้าใจและใส่ใจในปัญหาของลูกค้า จะช่วยให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจในตัวเจ้าหน้าที่ว่าจะพยายามดูแลปัญหาที่ได้แจ้งมา ในบางครั้งเจ้าหน้าที่อาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด แต่สามารถแสดงถึงความพยายามและความเอาใจใส่ไปยังลูกค้าได้ผ่านการใช้คำพูดเชิงบวก

ตัวอย่างคำพูดเชิงบวก
  • ดิฉัน/ผมเข้าใจในความกังวลของท่าน
  • ดิฉัน/ผมขอภัยในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
  • ดิฉัน/ผมจะรีบประสานงานไปยังทีมงานที่รับผิดชอบ
  • ขอบคุณที่ให้โอกาส…  ได้ดูแลท่าน (หรือ ชื่อลูกค้า)
• มีทัศนคติเชิงบวกอยู่เสมอ
การแสดงความเข้าใจลูกค้ารายแรกของวันเป็นเรื่องง่าย แต่เพื่อที่จะบริการและปฏิบัติต่อลูกค้ารายสุดท้ายแบบเดียวกับที่ให้บริการลูกค้ารายแรกนั้น เจ้าหน้าที่ต้องคิดบวกและมีแรงจูงใจไม่ว่าสถานการณ์จะน่าหงุดหงิดเพียงใด  ลองหาวิธีทำให้สมองปลอดโปร่งและสลัดความเครียดที่เกิดขึ้น อาทิ ยืดเส้นยืดสายที่โต๊ะทำงานระหว่างพัก พูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน หรือ เดินออกไปสูดอากาศภายนอกสักครู่
 
การแสดงออกถึงความเข้าใจและเอาใจใส่ลูกค้า (Empathy) จะส่งมอบบริการที่ดีเยี่ยมแก่ลูกค้า ลูกค้าสามารถรับรู้ได้ว่าผู้ให้บริการเข้าใจพวกเขาผ่านคำพูด น้ำเสียง ภาษากาย และสัญญาณอื่นๆ ขึ้นอยู่กับว่าบทสนทนาที่เกิดขึ้น และขอฝากว่าการบริการที่ใส่ใจเป็นทักษะที่เจ้าหน้าที่บริการลูกค้าทุกท่านฝึกฝนได้ และเมื่อให้บริการลูกค้าด้วยใจ ก็จะได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าเช่นกัน

บทความโดย
คุณกฤตาภร ณ นคร
27 กุมภาพันธ์ 2566

อ้างอิงจาก : https://www.freshworks.com/freshdesk/customer-service-skills/guide-empathy-customer-service-blog/ และ https://www.wixanswers.com/post/empathy-in-customer-service
 



Skills Development

ลดข้อร้องเรียนด้วยการทำให้ลูกค้าพึงพอใจได้อย่างไร article
เทคนิคการขอโทษลูกค้าอย่างมืออาชีพ article
การบริการเชิงรุกเพื่อสร้างความเป็นเลิศด้วยหลัก Proactive article
10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเขียนอีเมลอย่างมืออาชีพ article
บริหารความคาดหวังของลูกค้าเมื่อใช้บริการได้อย่างไร article
20 คำถามใช้บ่อยในการแก้ไขปัญหาทางโทรศัพท์ article
10 ข้อควรรู้ สำหรับการรับเรื่องร้องเรียนของลูกค้า article
3 เทคนิค ช่วยให้ดำเนินการเรื่องที่ตกลงกับลูกค้าไว้อย่างมืออาชีพ article
8 วิธีเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการลูกค้า article
เคล็ดลับการเป็น Admin Page ที่มีประสิทธิภาพ article
24 คำพูดเชิงบวกเพื่อให้บริการลูกค้าชาวต่างชาติอย่างมืออาชีพ article
10 ข้อ ไม่ควรทำ เมื่อรับเรื่องร้องเรียนของลูกค้า article
10 ข้อ ควรรู้เกี่ยวกับการให้บริการผ่านแชท article
เทคนิคการใช้คำถามสำหรับนักขายทางโทรศัพท์ article
จัดอบรมเจ้าหน้าที่ Call Center อย่างไรให้ได้ผลลัพธ์ article
Telesales อย่างไร ให้ลูกค้ายอมคุยด้วย article
ทักษะงาน Call Center หลังยุค COVID-19 article
5 เทคนิคการจัดการข้อร้องเรียนของลูกค้าอย่างมืออาชีพ article
การสื่อสารเมื่อเจอข้อโต้แย้งของลูกค้า สำหรับนักขายทางโทรศัพท์ article
5 วิธีการสื่อสารเชิงบวกเพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า article
เทคนิคการจับประเด็นความต้องการของลูกค้า article
คุณสมบัติที่ควรมีสำหรับคนทำงาน Call Center article
5 ทักษะที่จำเป็นสำหรับเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพการบริการ (QA) มืออาชีพ article
เทคนิคพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับ Competency ขององค์กร article
Competency เกี่ยวข้องกับการทำงานบริการอย่างไร article
เทคนิคการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นผู้ฟังเชิงรุก article
5 ทักษะที่จำเป็นสำหรับหัวหน้าทีมบริการลูกค้ามืออาชีพ article
วิธีเพิ่มความมั่นใจให้กับนักขายทางโทรศัพท์ article
บริการอย่างไรให้มีความสุข article
การ Handle อารมณ์ของตัวเราเอง article
โค้ชอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ article
การโค้ชมีประโยชน์อย่างไร article
5 เคล็ดลับการให้บริการลูกค้าแบบเผชิญหน้า article
เป็น Call Center ต้องพูดอย่างไรให้ลูกค้าพึงพอใจและประทับใจ article
การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ article
พูดอย่างไร ถึงจะสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับลูกค้า article
10 วิธีในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า article
การสร้างความประทับใจจากข้อร้องเรียนของลูกค้า article
ใช้บทสนทนามาตรฐาน (Script) อย่างไรให้เหมาะสม article
5 ขั้นตอนสำหรับนักขายเมื่อโทรหาลูกค้า article
ฝึกฝนเจ้าหน้าที่ขายสินค้าทางโทรศัพท์ให้เป็นมืออาชีพ article
เทคนิค 7 ข้อในการพัฒนาทักษะการพูดของผู้ให้บริการ article
Call monitoring ช่วยพัฒนาทีมขาย (Telesales Team) ของคุณได้อย่างไร article
เคล็ด(ไม่)ลับสำหรับผู้เข้าอบรมด้านการบริการ article
เทคนิคในการพัฒนาคุณภาพการบริการของเจ้าหน้าที่ Call Center article
ทักษะที่สำคัญสำหรับเจ้าหน้าที่ Call Center article
การขายสินค้าทางโทรศัพท์อย่างมืออาชีพ article
8 วิธีที่จะเปลี่ยนลูกค้าร้องเรียนให้พึงพอใจ article
การอบรมเจ้าหน้าที่ Call Center มือใหม่ ควรจะเริ่มต้นอย่างไร article
เทคนิคในการเลือกใช้คำพูดเมื่อต้องให้บริการลูกค้าเจ้าปัญหา article
ทำอย่างไรไม่ให้เกิดเรื่องร้องเรียนกับเจ้าหน้าที่ Call Center article
เทคนิค 10 ข้อ ในการพัฒนาทักษะการฟังทางโทรศัพท์ article
เทคนิค 5 ข้อ ที่นักขายทางโทรศัพท์ (Telesales) ควรรู้ article
คำพูดเชิงบวกที่คุณต้องใช้ในงานบริการ และ การขายสินค้าทางโทรศัพท์ article
10 วิธีจัดการลูกค้าร้องเรียนให้ได้ผล article
เทคนิคเพิ่มยอดขายสินค้าทางโทรศัพท์ article
อบรมเจ้าหน้าที่ Call Center อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ article
เทคนิค 8 ข้อสำหรับ Call Center Trainer มือใหม่ article