เข้าใจความแตกต่างระหว่างกลยุทธ์ CRM กับ ระบบ CRM article

เข้าใจความแตกต่างระหว่างกลยุทธ์ CRM กับ ระบบ CRM

เวลาพูดกันถึง CRM ส่วนใหญ่มักจะเข้าใจกันคนละเรื่องกันทำให้การสื่อสารระหว่างกันมีการผิดพลาดกันมาก ที่เห็นเด่นชัดคือการคุยกันข้ามแผนกกัน โดยเฉพาะ ฝ่ายการตลาด กับ ฝ่าย IT ซึ่งมีมุมมองทางด้าน CRM ต่างกันโดยสิ้นเชิง ทางฝ่ายการตลาดส่วนใหญ่จะเน้นทางด้านการนำ CRM มาสร้าง Campaign การตลาดที่ลูกค้าต้องการ หรือ ต้องการวิเคราะห์ว่าลูกค้าแต่ละกลุ่มมีความต้องการสินค้าและบริการใดๆ เพิ่มเติมหรือไม่ เป็นต้น ซึ่งจะมุมมองไปทางด้านธุรกิจด้านการหารายได้เข้าบริษัท ส่วนทาง IT จะมีมุมมองทาง CRM ไปในเชิงคุณสมบัติและหน้าที่การทำงานของระบบ เช่น ต้องการนำ CRM มาให้ฝ่ายไหนใช้บ้าง Sales, Marketing หรือว่าฝ่าย Customer Service หรือ ต้องการจะให้มี Function ใดๆ บ้าง ต้องการการวิเคราะห์ข้อมูลหรือไม่ เป็นต้น เพราะฉะนั้นในมุมมองของเจ้าหน้าที่ผู้ที่รับผิดชอบในการคัดเลือกระบบ CRM มาใช้ในองค์กร จะต้องเข้าใจความแตกต่างแต่ละมุมมมองของผู้ใช้งานข้างต้นเหล่านี้

ในบทความนี้จะอธิบายคร่าวๆ ของมุมมองที่แตกต่างกันระหว่างคำว่า CRM ที่เกริ่นไว้ข้างต้น ดังนี้ คือ 1. มุมมองทางด้านการตลาดหรือทางด้านธุรกิจ เราจะเรียกว่า "กลยุทธ์หรือการตลาด CRM" 2. มุมมองทางด้าน IT หรือด้านเทคนิค เราจะเรียกว่า "ระบบ CRM"

1. กลยุทธ์หรือการตลาด CRM
 "การบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management : CRM)" จะเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า สามารถเรียนรู้ความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้า และตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยสินค้าหรือบริการที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคนมากที่สุด ซึ่งความสำคัญของการบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) จะช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่มความสัมพันธ์อันดีให้กับลูกค้าได้ รวมถึงสามารถเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องค่าใช้จ่ายในการแสวงหาลูกค้ารายใหม่ อีกทั้งยังเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) โดยการสร้างกระบวนการทำงานและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก

กลยุทธ์ CRM ที่ใช้กันทั่วๆ ไป โดยเฉพาะในประเทศไทย จะมีกลยุทธ์หลักๆ ดังต่อไปนี้

1) บัตรสมาชิก (Privilege Card/Membership)
เป็นหนึ่งในกลยุทธ์พื้นฐานอันดับแรกที่ใช้ในการให้ได้มาซึ่งข้อมูลของลูกค้าสมาชิก ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญในการทำ CRM โดยใช้วิธีการให้สิทธิพิเศษต่างๆ ในการซื้อสินค้าและบริการ ในการเข้าร่วมกิจกรรมและรายการส่งเสริมการขายพิเศษที่องค์กรจัดขึ้นเฉพาะสมาชิก เช่น ได้ส่วนลดในการซื้อสินค้าหรือบริการ หรือได้สิทธิในการทำกิจกรรมร่วมกับพันธมิตรภายนอกได้ เช่น มีบัตรสมาชิกดูหนังฟรีเดือนละครั้ง เป็นต้น

2) การสะสมคะแนน (Reward Program)
เป็นอีกหนึ่งในกลยุทธ์พื้นฐานที่ใช้ในการให้ได้มาซึ่งข้อมูลของลูกค้าสมาชิก ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญในการทำ CRM โดยใช้วิธีการสะสมแต้มเป็นตัวดึงดูดให้ลูกค้าใช้สินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเพื่อให้สำหรับแจ้งข่าวสารกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างดี

3) การขายต่อยอด (Up-sell Cross-sell) เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ในการสร้างรายได้เพิ่มให้กับองค์กร รวมถึงมีทางเลือกของสินค้าและบริการหลากหลายมากขึ้นสำหรับลูกค้าที่มีความต้องการและเต็มใจที่จะเลือกซื้อ
- Up-sell คือ การขายสินค้าหรือบริการที่มีราคาสูงกว่าให้แก่ลูกค้าที่กำลังตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่ต้องเป็นสินค้าหรือบริการที่มีคุณสมบัติเหนือกว่าที่ลูกค้ากำลังเลือกอยู่ เช่น เปลี่ยนจากหยอดเหรียญมาเป็นบัตรเติมเงิน
- Cross-sell คือ การขายสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าตัวหลัก อาจเป็นสินค้าหรือบริการชนิดอื่นที่เรามีอยู่ ของแผนกอื่น ของในเครือบริษัท หรือแม้แต่ของพันธมิตรทางธุรกิจของเราก็ตาม เช่น บัตร Rabbit

4) เน้นการบริการลูกค้า (Focus on Service) ทั้งที่เป็นการให้บริการผ่านทาง Call Center หรือที่เป็นการบริการผ่านทางหน้าร้านโดยตรง องค์กรจะเน้นการบริการที่สุภาพ ครบถ้วนและรวดเร็ว เพื่อสร้างความพึงพอใจของลูกค้าสูงสุด

5) จัดแคมเปญกิจกรรม (Event Based CRM)
กับลูกค้าอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความแตกต่างที่สามารถจับต้องได้จริงๆ  ทำให้ลูกค้ารู้สึกใกล้ชิดและประทับใจกับองค์กรตลอดเวลา

2. ระบบ CRM
 ระบบ CRM จะหมายถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่ออกแบบมาเพื่อรองรับกลยุทธ์หรือความต้องการทางการทำตลาด CRM กับลูกค้า โดยจะเน้นทางด้านการนำ "Software" มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลลูกค้าและข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าในมุมมองต่างๆ ที่สำคัญกับองค์กรเพื่อนำมาใช้ช่วยในการบริการลูกค้าและวิเคราะห์รายละเอียดลูกค้าในเชิงลึกเพื่อค้นหาดูว่าลูกค้ามีความต้องการ และมีพฤติกรรมการใช้จ่ายหรือใช้บริการของเราอย่างไร เพราะฉะนั้นระบบ CRM ที่ดีที่เหมาะสมในกรณีถ้ามีความต้องการจัดซื้อจัดหาระบบ CRM มาใช้ในองค์กร สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึกถึงที่สุดคือ ระบบ CRM นั้นต้องสามารถรองรับความต้องการทางการตลาด CRM หรือกลยุทธ์ CRM มิเช่นนั้นแล้วการนำระบบ CRM มาใช้จะไม่มีประโยชน์เลย อย่างไรก็ตามโดยทั่วไประบบ CRM ในท้องตลาดจะมี Functions และ Features รองรับความต้องการพื้นฐานในการใช้งาน

สำหรับทุกๆ องค์กรที่มีความต้องการที่จะใช้ระบบ CRM อยู่แล้ว โดยสามารถแบ่งประเภทของระบบ CRM เป็น 3 ประเภทหลักๆ พื้นฐานดังต่อไปนี้

1) Operational CRM เป็น CRM ที่ให้การสนับสนุนแก่กระบวนการธุรกิจที่เป็น “Front Office” ต่างๆ อาทิ การขาย (Sales Automation) การตลาด (Marketing Automation) การให้บริการ (Support Automation) การปฎิสัมพันธ์กับลูกค้า (Contact Center) โดยทั่วไปจะถูกเก็บรวบรวมไว้ในประวัติการติดต่อของลูกค้า ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถดึงเอาข้อมูลของลูกค้ามาดูได้เมื่อจำเป็น ประวัติการติดต่อกับลูกค้าเหล่านี้จะช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าสู่ข้อมูล ข่าวสารที่สำคัญของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว หลีกเลี่ยงการไปรบกวนสอบถามข้อมูลจากลูกค้าโดยตรง จุดประสงค์ของ CRM ประเภทนี้มีไว้เพื่อบริหารจัดการการรณรงค์สินค้าและบริการ การดำเนินการด้านการตลาด การดำเนินการเพื่อกระตุ้นยอดขาย และระบบบริหารจัดการการขาย สามารถค้นหาข้อมูลรายละเอียดส่วนประกอบของ Operational CRM ได้จาก Internet เพิ่มเติมได้

2) Analytical CRM เป็นวิธีการที่วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ อาทิ การออกแบบและดำเนินการรณรงค์ทางการตลาดของกลุ่มเป้าหมาย การออกแบบและการรณรงค์โดยทั่วไป เช่น การได้ลูกค้าใหม่ๆ การได้รับโอกาสในการ “เสนอ” “แนะนำ” หรือ “เชิญชวน” รวมถึง “จูงใจ” ให้ลูกค้าผู้ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของเราไปแล้ว พิจารณาซื้อผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพิ่มอีก ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการของเราเองที่มีอยู่ ของแผนกอื่น ของบริษัทในเครือ หรือแม้แต่ของพันธมิตรธุรกิจของเราก็ตาม ให้มีการซื้อต่อเนื่อง (Cross Selling) หรือแม้แต่การจูงใจให้ลูกค้าต่อยอดซื้อสินค้าที่มีมูลค่าสูงขึ้น เรียกว่าเป็นการซื้อต่อยอด (Up Selling) เป็นต้น การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อทำการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ (การกำหนดราคา และการพัฒนาผลิตภัณฑ์) ระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อการจัดการ (MIS)

3) Collaborative CRM เป็นรูปแบบที่เข้ามาจัดการกับลูกค้าของแต่ละแผนกในองค์กรในลักษณะองค์รวม เช่น แผนกขาย ฝ่ายสนับสนุนเทคนิค และฝ่ายการตลาด เป็นต้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของแต่ละแผนกสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลที่รวบรวมไว้เกี่ยวกับลูกค้าได้ หรือแม้แต่ขยายการทำงานและแบ่งบันข้อมูลร่วมกันกับพันธมิตรที่เป็นผู้ขายวัตถุดิบให้เราก็ได้เช่นกัน ถึงแม้ว่าจะอธิบายแยกกันระหว่างกลยุทธ์ CRM กับระบบ CRM แต่ทว่าองค์กรที่จะทำ CRM ควรจะมีทั้ง 2 ส่วนทำงานร่วมกันเป็นอย่างยิ่ง โดยส่วนของระบบ CRM จะต้องสอดคล้องและสามารถรองรับกับกลยุทธ์ CRM ทางธุรกิจขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายขององค์กร มิฉะนั้นแล้วจะกลายเป็นว่าหัวไปทางหางไปทางแล้วระบบ CRM ก็จะเอามาแค่เก็บข้อมูลรายชื่อลูกค้าธรรมดาไม่มีมุมมองอื่นๆ มาใช้ประโยชน์ได้เลย

 

บทความโดย

คุณสุรศักดิ์ ภักดีวัฒนะกุล (ผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบ Call Center และ CRM)
27 มิถุนายน 2560
 
บริษัท มโนทัศน์ จำกัด
www.manotouch.com
081-611-9587




Call Center and CRM

ระบบ CRM ควรต้องรู้ Customer Lifetime Value (CLV) article
พัฒนาหน่วยงานบริการลูกค้าของคุณให้เป็น Omni-Channel Contact Center article
เตรียมความพร้อมให้บริการลูกค้าผ่านระบบ Live Chat article
Contact Center ของคุณรองรับ Omni Channel หรือยัง? article
5 วิธี เพื่อสร้างการบริการเกินความคาดหวัง article
5 แนวโน้ม CRM ที่ต้องรู้ก่อนใช้ article
จะบริหารทีมงาน Outsource Call Center อย่างไร (ตอนที่ 2) article
จะบริหารทีมงาน Outsource Call Center อย่างไร (ตอนที่ 1) article
15 สถิติที่ควรเปลี่ยนโลก CRM article
ประยุกต์ใช้ CRM ให้ประสบความสำเร็จต่อองค์กรของคุณได้อย่างไร article
ระบบ CRM ประกอบด้วยอะไรบ้าง article
ระบบ CRM ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ Call Center ได้อย่างไร article
10 เคล็ดลับ (Tips) ในการเลือกใช้บริการ Outsource Call Center article
CRM คือ อะไร article
Call Center คือ อะไร article
Outsource Call Center เหมาะกับองค์กรของคุณหรือไม่ article
อยากมี Call Center ต้องเตรียมตัวอย่างไร article